Education

Conferences: Southeast Asian Creative City Forum: “Design and Co-Create Your City”

08 ธ.ค. 2016 เวลา 10:30 - 17:30
131 ผู้ติดตาม

Southeast Asian Creative City Forum: “Design and Co-Create Your City” 

ผู้จัดกิจกรรม: เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์(CCM)ร่วมกับ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACCN), อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU STep) และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

วันและเวลา: 8/12/2016, 10.30-17.30 น.
สถานที่: โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่
บรรยาย: อังกฤษ แปลไทย


เวทีเสวนาที่ชวนผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาชุมชน ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี สถาปนิก นักออกแบบ และผู้ประกอบการสังคมจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอื่นๆ มาเล่าประสบการณ์และมุมมองของแต่ละท่านภายใต้โจทย์การร่วมกันพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน โดยวิทยากรมาจากองค์กรที่ทำงานเพื่อเมืองหลากหลาย อาทิ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครือข่าย Pan Asia Network และ Global Thinkers เป็นต้น (มีทั้งภาษาอังกฤษและไทย)


Joe Sidek 

Founder and Producer, George Town Festival, Penang 

“เทศกาลจอร์จทาวน์ (The George Town Festival): โอกาสความร่วมมือกับนานาชาติและการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับปีนัง”

ด้วยประสบการณ์ทำงานว่าสามสิบปีในโลกของวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์ Joe Sidek ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำความแตกต่างด้านศิลปะของมาเลเซีย นักอุตสาหกรรมการค้า และผู้ประกอบการ Joe ได้จัดการแสดงโชว์วัฒนธรรมทั่วมาเลเซียมานับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งนั่นรวมไปถึงงานอีเว้นที่รัฐเป็นผู้สนับสนุน ด้วยความชำนาญด้านนวัตกรรม ไหวพริบทางธุรกิจ และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน นำไปสู่การเป็นผู้จัดงาน เทศกาลจอร์จทาวน์ ในปี 2553 โจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 ปี สร้างชื่อเสียงของงานเทศกาล ส่งผลให้ต่อมา Joe ถูกเชิญไปเป็นวิทยากรทั่วทุกภูมิภาค 

ปัจุบัน Joe กำลังสร้างหลายโครงการรวมไปถึงโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า “Connecting The Light” ซึ่งจะเปิดตัวในปี 2560 ที่ Adelaide  และโครงการ Kulit ที่จะเปิดตัวในปี 2561 นอกจากนี้เขายังได้ริเริ่มโครงการรณรงค์ระดับนานาชาติเกี่ยวกับ Arts For Humanity  เพื่อเป็นการระดมทุนเพื่อส่งเสริมงานศิลปะอีกด้วย


Daniel Lim

Programme Manager, Think City, Malaysia 

“ชุมชนที่อยู่บนพื้นฐานการฟื้นฟูเมืองผ่านโครงการสีเขียว”

ในฐานะผู้จัดการโครงการ Daniel Lim ใช้เวลากว่า 6 ปี ในการก่อร่างโครงการ เปิดใช้งานพื้นที่ภายใต้เมืองมรดกโลกจอร์จทาวน์ ให้เป็นพื้นที่นันทนการภายใต้ชื่อ Think City องค์กรที่สนับสนุนโดยรัฐบาลมาเลเซียเพื่อวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูเมือง นอกจาการฟื้นฟูพื้นที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ความหลงไหลในการส่งเสริมความสัมพันธ์ในชุมชนทำให้เขาได้รับการสนับสนุนมากมายจากทั้งต่างประเทศและโครงการทั่วเมเลเซีย บทบาทของ Daniel ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งและบริหารจัดการโครงการฟื้นฟู Think City โดยริเริ่มที่ใจกลางเมือง  Johor Bahru Daniel ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ระหว่างช่วงเริ่มต้นของการจำลองโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นศักยภาพของการใช้พื้นที่สาธารณะ 


Dwinita (Tita) Larasati 

Bandung Creative City Forum (BCCF) 

“การร่วมสร้าง ความสัมพันธ์ในชุมชน และการพัฒนาบันดุงเมืองสร้างสรรค์”

Dwinita (Tita) Larasati เกิดและเติบโตที่จาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาเธอได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่บันดุง และเธอได้เริ่มศึกษาในสาขาอุตสาหกรรมการออกแบบ คณะศิลปกรรมและการออกแบบ วิทยาลัยเทคโนโลยีบันดุง เธอศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอแลนด์ ณ Design Academy Eindhoven และ the Delft University of Technology งานวิจัยของเธอนั้นเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อความยั่งยืน ไม้ไผ่และเส้นใยธรรมชาติ การพัฒนาชุมชน และการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐานศักยภาพความสร้างสรรค์ หลังจากจบหลักสูตรปริญญาเอก เธอได้กลับบ้านเกิดในปี 2550 เริ่มสอนและทำการวิจัยที่วิทยาลัยเทคโนโลยับันดุง ต่อมาในปี 2551 เธอได้ทำงานร่วมกับชุมชนสร้างสรรค์กว่า 45 ชุมชนและบุคลากรสร้างสรรค์มากมาย เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Bandung Creative City Forum (BCCF) ปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์กร โดยในปี 2557 เธอถูกมอบหมายให้เป็นผู้นำคณะกรรมการเศรษฐกิจสร้างสรรค์อินโดนีเซีย การทำงานของ Tita ในการพัฒนาเมืองบันดุงประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่งผลให้เมืองบันดุงกำลังกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกยูเนสโก้ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในสาขาของการออกแบบ


Muhammad Ajie Santika

Startup Bandung

“ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและชุมชนสตาร์ทอัพ”

Muhammad Ajie Santika ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทพัฒนาเกมส์ (Tinker Games) และเป็น ผู้ร่วมก่อตั้ง Coworking Space (Co & Co Space) เมืองบันดุง ในปี 2558 Ajie ได้สร้างชุมชน Startup โดยมีบริษัทสตาร์ทอัพจากบันดุงเข้าร่วมถึง 19 บริษัท ต่อมาเขาได้กลายเป็นผู้ประสานงานของโปรเจคนี้ ด้วยประสบการณ์การทำงานด้านธุรกิจกว่า 6 ปี  Ajie ได้เดินทางไปหลายเมืองทั้ง ลอนดอน ฮัมบวร์ค ฮ่องกง สิงค์โปร์ ซานฟรานซิลโก และ โตเกียว เพื่อไปโปรโมทธุรกิจ เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมสร้างสรรค์ อีกทั้งร่วมมือกับชุมชนความสร้างสรรค์และชุมชนดิจิตอลในแต่ละเมือง Ajie เชื่อว่า ความสามารถและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในบันดุงนั้นสามารถเติบโตได้ในระดับนานาชาติ อีกทั้ง Ajie ยังเป็นพี่เลี้ยงให้บริษัทสตาร์ทอีพจำนวนมากในบันดุงและจาร์กาตา ในขณะเดียวกันเขายังสร้างสรรค์โครงการที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ความสร้างสรรค์และดิจิตอล


Jacqueline Yean Yee Fong

Tanoti Crafts

“เบอร์เนียว 744 เมืองผู้ประกอบการแห่งแรกของมาเลเซีย”

Jackie ใช้เวลา 14 ปี กับการเป็นวาณิชธนากร หรือที่ปรึกษาด้านการเงิน ที่ CIMB หลังจากที่เธอลาจากสายงานนี้ เธอได้อุทิศตัวเองสู่ธุรกิจงานหัตถกรรมและการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ที่ กูชิง ซาราวัค ประเทศมาเลเซีย  เธอเรียกตัวเองว่าเป็น ผู้ประกอบการแห่งความสุข (enjoypreneur) เพราะเธอเป็นผู้ที่เชื่อในการทำงานในสิ่งที่เธอรัก ตามปรัชญาของเธอว่าด้วย การทำในสิ่งที่คุณรัก คุณจะไม่รู้สึกเหมือนว่ากำลังทำงาน แล้วเงินจะตามมาในที่สุด โครงการสำคัญของเธอ มีชื่อว่า Batik Boutique Hotel  ซึ่งถือเป็น Hall of Frame จาก TripAdvisor ปัจจุบันเธอมีโรงแรมภายใต้การบริหารถึง 3  แห่ง นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Tanoti Sdn Bhd หรือ โรงงานยกดิ้นที่ก้าวหน้าที่สุดในที่สุดของประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับลงทุนในงานวิจัยและนวัตนกรรมเทียบเท่ากับการอนุรักษ์มรกดงานหัตถกรรม Jackie เป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน เบอร์เนียว 744 ผู้ประกอบการกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Entrepreneurs Township) แห่งแรกของมาเลเซีย วิสัยทัศน์ของเธอคือการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อันเกิดจากสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์


Jumhaila Monette Amellabon 

United Architects of the Philippines, Creative Cebu Council

“AA Streetware เซบู การฟื้นฟูถนนแห่งประวัติศาสตร์ของเมือง”

Jumhaila Monette Amellabon (Jumax) ให้ความสำคัญกับวิธีการที่ทันสมัยโดยอาศัยการใช้วัสดุและวิธีการผลิตแบบพื้นเมือง เธอเป็นผู้มีบทบาทหลักในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Arkitekto Kolab Design Studio ในเซบู และยังเป็นรองผู้อำนวยการของ United Architects of the Philippines เธอมีความสนใจในการนำเอาวัสดุเดิมมาใช้ใหม่หรือปรับปรุงแล้วใส่ไอเดียสร้างสรรค์ลงไปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Upcycle) และ การนำวัสดุที่ไม่ใช่แล้วมาใส่ไอเดียและดัดแปลงวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Repurpose) ในฐานะนักออกแบบวัสดุของ CREMIS บริษัทที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการของเสียและนวัฒกรรมการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เธอสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย San Carlos ต่อมาเธอได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทในสาขาการออกแบบเมืองที่มหาวิทยาเดียวกัน และในช่วงกลางปี 2559 Jumax มีบทบาทสำคัญในการวิจัยร่วมนานาชาติ และโครงการการศึกษาร่วมกันระหว่าง London’s Association School of Architecture (AA Visiting School of Architecture) และองค์กรอื่นอีกมากมาย อาทิ Creative Cebu Council Think City Malaysia และ  Fundacion Metropoli


Kae Batiquin

Create Cebu, Creative Cebu 

“Create Cebu และการเคลื่อนไหวอันทรงพลังของศิลปะเมือง”

Kae เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Creative Cebu Council และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Art-advocacy และ Urban Development group Create Cebu เธอจบการศึกษาในสาขาวรรณกรรมอังกฤษ จากมหาวิทยาลัย  Ateneo de Manila ที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และมหาวิทยาลัย International Christian ประเทศญี่ปุ่น ในสาขาเดียวกัน ต่อมาเธอได้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการออกแบบจากมุมมองการตลาด เธอและทีมของเธอประสบความสำเร็จในการก่อตั้งแบรนด์ Debbie Palao และในช่วงปี 2551 เธอได้รับรางวัล Best Promotional Materials ต่อเนื่องกันถึง 4 รางวัล จาก The Cebu Furniture Industries Foundation ปัจจุบัน Kae ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ (Manager for the Holistic Coalition) ที่ Willing’s first Gallery-Store ในเซบู ซึ่งมีการนำเอาการปฏิบัติงานแบบองค์รวมเข้ามาในกระบวนการออกแบบ การผลิต รวมไปถึงการส่งเสริมชุมชนงานฝีมือที่ Visayas นอกจากนี้ Kae ยังทำงานเป็นที่ปรึกษานักออกแบบและสร้างเนื้อหาสำหรับ Cebu Best และ AEO International Food Corporation.


Nirandorn Potikanond

Advisor, Chiang Mai Sunday Cycling Club

“การใช้ระบบจักรยานวิ่งสองทางในถนนจราจรทางเดียวและระบบถนนจักรยานในพื้นที่กลางเมืองเชียงใหม่”

คุณนิรันดรสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับอนุปริญญาในสาขา Ing-Agra การผลิตสัตว์ มหาวิยาลัยกีเซน ประเทศเยอรมันนี และปริญญาเอกด้านอาหารสัตว์จาก มหาวิทยาลัยเกอตติงเกน เยอรมันนี คุณนิรันดรเคยเป็นประธานชมรมจักรยานวันอาทิตย์เชียงใหม่เป็นเวลากว่า 15 ปี แล้วจึงกลายเป็นที่ปรึกษาในเวลาต่อมา เขามีประสบการณ์การปั่นจักรยาน ทั้งในประเทศเยอรมันนี ประเทศไทย และประเทศลาว นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในระบบการใช้จักรยานและระบบจราจรที่ดูแลจักรยานทั่วโลก


Suradech Taweesaengsakulthai

Co-Founder: Khon Kaen City Development (KKTT)

“ขอนแก่นโมเดล”

คุณสุรเดชขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช.ทวี ดอลลาเชียน จำกัด (มหาชน) (CHO) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 ต่อมาคุณสุรเดชได้ร่วมก่อตั้งและเป็นประธาน บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด (KKTT) เขาได้ก่อตั้งธุรกิจนี้จากการร่วมมือของบุคคลสำคัญทางธุรกิจในจังหวัดขอนแก่นที่มีความตั้งใจจะพัฒนาเมือง โดยเริ่มจากการมุ่งเน้นในการสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติและรถไฟฟ้ารางเบา เพื่อที่จะเป็นจุดศูนย์รวมของเมือง โครงการที่ได้ริเริ่มนี้มีชื่อเรียกว่า  ขอนแก่นโมเดล แนวคิดนี้ได้รับการนำไปปรับใช้โดยผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตเมื่อไม่นานมานี้ คุณสุรเดชยังมีประสบการณ์อย่างมากในนวัตกรรมด้านวิศวกรรม ทำให้เขาถูกเชิญเป็นวิทยากร อาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงที่ปรึกษาอีกด้วย


Asst. Prof. Dr. Peeradorn Kaewlai

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University, and Advisor to TCDC

“สร้างสรรค์เจริญกรุง : ความสัมพันธ์ชุมชนในพื้นที่สร้างสรรค์”

คุณพีรดร ผู้เชี่ยวชาญในสาขาของการพัฒนาเมืองและการวิจัย เขาได้นำทีมนักวิจัยจากมหาวิยาลัยธรรศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ได้สำรวจและวิจัยในหัวข้อเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย คุณพีรดรได้ดำเนินโครงการกับหลายภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ และผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเศรษฐกิจเมือง โดยโครงการล่าสุดนั่นเกี่ยวเนื่องกับทางเชื่อมลอยฟ้ากรุงเทพฯ ทางเดินลอยฟ้าที่เชื่อมถนนราชประสงค์และถนนประตูน้ำ และสร้างคู่มือการพัฒนาสำหรับหมู่บ้านสร้างสรรค์ในพื้นที่ชนบทของประเทศ อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดนโนบายการออกแบบ ส่งเสริม นวัฒกรรมของประเทศไทย ในปีพ.ศ.2555 คุณพีรดรได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาในการย้ายสถานที่ตั้งของของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) นับตั้งแต่นั้นเขาและทีมของเขาได้ทำงานร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในการค้นคว้าศักยภาพของถนนเจริญกรุงให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของกรุงเทพฯและการทำให้ TCDC แห่งให้เป็นตัวกระตุ้นการฟื้นฟูเมือง


Montinee (Tik) Yongvikul 

Director, Policy and Development Department, TCDC

“นโยบายสร้างสรรค์: นโยบายสนับสนุนการพัฒนาเขตเมืองความสร้างสรรค์”

คุณมณฑินี ยงวิกุล หรือคุณติ๊ก ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและการพัฒนา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เธอดูแลการวางแผนกำหนดกลยุทธ์และนโนบาย การออกแบบโครงการ ความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหาของงานสัมมนา นิทรรศการ และสื่อสิงพิมพ์ คุณมณฑินีได้จัดระดับนโยบายในโครงการสร้างสรรค์เจริญกรุง ถนนแห่งความสร้างสรรค์ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตเมืองความสร้างสรรค์ พร้อมกันกับสำนักงานแห่งใหม่ของTCDC และพื้นที่สร้างสรรค์ภายในอีกด้วย


Assistant Professor Dr. Pitiwat Wattanachai 

Assistant Director, Chiang Mai University Science and Technology Park (CMU STeP)

“อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของนวัฒนกรรม”

คุณปิติวัฒน์ วัฒนชัยเป็นผู้รับผิดชอบในโครงการการก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ตำบลแม่เหียะ เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา และระดับปริญญาโทจากสาขาวิศวกรรมโครงสร้างจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ก่อนที่เขาจะได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ในสาขาวิศวกรรมการพัฒนานานาชาติ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขาเป็นผู้นำทีมวิศวกรวิจัยหลายโครงการและเป็นผู้สร้างโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศที่ยังคงดำเนินมาถึงทุกวันนี้ โครงการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในพื้นที่กว่า 20,000 ตารางเมตร อันประกอบไปด้วยเครื่องมือวิจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับวิศวกร โดยโครงการนี้คาดว่าแล้วเสร็จในปลายปี 2560 


Assistant Professor Dr. Poon Thiangburanatham

Director, Urban Planning and Development Center, Faculty of Engineering, Chiang Mai University

“การพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะในเมืองเชียงใหม่”

คุณปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Excellence Center for Urban Planning and Development (ECUP) มหาวิยาลัยเชียงใหม่  เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาการจัดการการก่อสร้าง จากมหาวิทยาลัยโคโรราโด เมืองโบเดอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาเขาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมการขนส่งจากมหาวิทยาลัยโคโรราโด เมืองเดนเวอร์ หลังจากจบการศึกษาคุณปุ่นได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชียวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์กว่า 18 ปีด้านวิศวกรรมโยธาและจัดการการก่อสร้าง และประสบการณ์อีกกว่า 10 ปีด้านระบบขนส่งและการพัฒนาเมือง นอกจากนี้คุณปุ่นยังได้รับรางวัลงานวิจัยยอดเยี่ยมจากกองทุนวิจัยไทย ในโครงการพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปี 2552 - 2555 เขายังได้ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะปรึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในหลายองค์กร เช่น ธนาคารโลก Asian Development Bank อีกทั้งเขามีประสบการณ์ในการทำงานกับภาครัฐระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน 


Asst. Prof. Komson Teeraparbwong 

Faculty of Architecture, Chiang Mai University

“อนาคตของอดีต? ภาพสะท้อนของการทำงานกับกลุ่มนิมมาน และโครงการมรดกโลกของเชียงใหม่”

คุณคมสัน ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและต่อมาได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศในสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมือง GSAPP มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จหลักสูตรจากสมาคมสถาปนิก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คุณคมสันมีความสนใจด้านการออกแบบชุมชนเมือง การวางแผนบทบาทของสัณฐานวิทยาเมือง (การตั้งถิ่นฐานและการสร้างถิ่นที่อยู่ของมนุษย์) และการสร้างสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิธีการ และการเปลี่ยนลักษณะของเมือง ในส่วนของการทำงานร่วมกับชุมชนต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ เขามีความสนใจในการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงและวิถีชีวิต นอกจากนี้เขายังสนับสนุนอีกหลายโครงการของเชียงใหม่ในการเข้าร่วมโปรแกรมต่างๆของยูเนสโก อีกทั้งเขายังได้ทำงานร่วมกับชุมชมเมืองอื่นๆในแถบเอเชียะันอกกเฉียงใต้ และทั่วโลก


Marisa Marchitelli

Independent film producer, journalist

“หมอกควัน : วิกฤตในภาคเหนือของไทย”

Marisa Marchitelli สร้างสารคดีที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงเรื่อง "หมอกควัน : วิกฤตในภาคเหนือของไทย” ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจผลกระทบของปัญหาหมอกควันที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ หมอกควันเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่สุดในภาคเหนือ นอกจากนั้น Marisa ยังได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของประชากรและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว Marisa กำเนิดที่กรุงเทพมหานคร แต่ซึ่งโดยเชื้อสายแล้วเป็นลูกครึ่งไทย อิตาเลียน และอเมริกัน  เธออาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลากว่า 7 ปี โดยทำงานผู้สร้างภาพยนตร์และช่างภาพอิสระ เธอได้เริ่มสำรวจปัญหาหมอกควันหลังจากที่รู้สึกถึงผลกระทบด้านสุขภาพในปี 2015


Yasmine Ostendorf

Green Art Lan Alliance

“การออกแบบและความสามารถในการตอบสนอง ; ความสร้างสรรค์ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ”

Yasmine Ostendorf เป็นนักวิจัย/ภัณฑารักษ์อิสระ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานสาขาวัฒนธรรมนานาชาติมากกว่า 10 ปี เธอศึกษา วิจัย ประสานงาน อำนวยความสะดวก และเขียนเกี่ยวกับงานศิลปะ การออกแบบ และวัฒนธรรมที่ช่วยเหลือสังคมในเชิงบวก  Yasmine ทำงานมุ่งเน้นในการขับเคลื่อนโปรแกรมวัฒนธรรมนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านศิลปะและสิ่งแวดล้อม เธอได้ร่วมงานกับองค์กรผู้เชี่ยวชาญมากมาย เช่น Julie’s Bicycle (ประเทศอังกฤษ) และ Cape Farewell (ประเทศอังกฤษ) อีกทั้งเธอยังเป็นผู้ก่อตั้ง Green Art Lab Alliance เครือข่ายนานาชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานสร้างสรรค์กว่า 35 หน่วยงาน จากทั่วภูมิภาคยุโรปและเอเซีย ซึ่งเชื่อมโยงกันด้วยประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 


Đoàn Kỳ Thanh 

Hanoi Creative City

“ฮานอย เมืองสร้างสรรค์ - ศูนย์สร้างสรรค์ในฮานอย”

Thanh เป็นสถาปนิกและเป็นผู้ก่อตั้ง ศูนย์สร้างสรรค์ในฮานอย ประเทศเวียดนาม เขายังเป็นรองประธานสโมสรผู้ประกอบการเวียดนามสร้างสรรค์ และผู้ก่อตั้ง Zone 9 – a Creative Art Model เขาเป็นทั้งช่างภาพนิตยสาร อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งพร้อมรวมถึงผู้อำนวยการของ Avant Architecture and Investment Consultancy นอกจากนี้เขายังเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาของทีวีเรียลลิตี้โชว์ "Siêu Thủ Lĩnh" (VTV6) และผู้อำนวยการสร้างสรรค์โครงการ "Cocobay Da Nang Travel and Leisure Complex" Thanh จบปริญญาด้านสถาปัตยกรรม และจบหลักสูตรสถาปัตยกรรมการวางผังเมือง ความยั่งยืน การออกแบบเมือง และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม


Nati Sang

Founder, Makerspace Thailand

“เชียงใหม่ - เมืองแห่งเมคเกอร์”

นที แสง เป็นผู้ประกอบการ นักประดิษฐ์ นักลงทุน นักการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญเลโก้ที่ได้รับการรับรอง และอดีตพระสงฆ์ เขาได้ก่อตั้ง Makerspace ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เสมือนเป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ที่เพรียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือ ความรู้และโอกาสที่จำเป็นสำหรับทุกคนทีต้องการจะเป็นนักประดิษฐ์/เมคเกกอร์ นอกจากนี้เขายังเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ Infinati Industrie อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและผู้ระดมความคิดอีกด้วย

7038e7162d13cb79bcaac0bb84ca6568f11a81dd
จัดโดย
Thailand Creative and Design Center