Technology • Education

โครงการอบรมการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 21 :Optimizing Security of Things and Digital Supply Chain Risk

โครงการอบรมการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 21: Optimizing Security of Things and Digital Supply Chain Risk


งานสัมมนายิ่งใหญ่ประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ จัดในรูปแบบ On-ground Conference ปีนี้จัดงานภายใต้แนวคิด “Optimizing Security of Things and Digital Supply Chain Risk” ความสำคัญในการสร้างเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายไซเบอร์ การจัดการความเสี่ยงด้านผู้ให้บริการในยุคข้อมูลดิจิทัล ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Blockchain, AI-powered, Quantum ที่นำมาใช้ทั้งด้านบวกในการป้องกันและด้านลบในการโจมตี Cybersecurity บทสรุปของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ Major change ของ ISO/IEC 27002 เวอร์ชั่นใหม่ที่ผนวก controls “Information Security, Cybersecurity & Privacy Protection” สำหรับองค์กรตรวจรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 (ISMS) ต้องรู้ในการนำไปใช้ดำเนินการ การประกาศใช้บังคับของกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ


วันที่: 9 - 10 พฤศจิกายน 2022

สถานที่ : Grand Hall ,BITEC Bangna

ลงทะเบียนได้ที่ >> https://its.yt/IMCP


ประโยชน์ CDIC 2022

  • รับรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการ Update ความรู้และข่าวสารใหม่ล่าสุด ด้าน Cybersecurity จากทั่วโลก ถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญ
  • รู้จักและร่วมปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมงานท่านอื่นๆ ที่มาจากหลากหลาย วงการ วิทยากรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่าย (Networking) และเปิดมุมมองความคิดใหม่ๆ จากวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานด้วยกัน ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งเข้าร่วมสนุกกับเกมชิงรางวัลที่บูธแสดงผลิตภัณฑ์ในงาน CDIC2022
  • พบกับการสาธิตเทคนิคการเจาะระบบหลายรูปแบบ (CDIC2022 Live Show) ที่มีโอกาสที่จะถูกนำมาใช้จารกรรมและเจาะระบบ ในชีวิตจริง
  • รู้ทันภัยคุกคามทางไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหลังจากผลกระทบการระบาดของ COVID-19 เมื่อภัยคุกคามดังกล่าวกลายเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ที่องค์กรและทุกคนต้องทำความเข้าใจและพร้อมรับมือ เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบทั้ง จากอธิปไตยทางไซเบอร์และอธิปไตยของข้อมูล
  • รู้ทันเทคนิคภัยคุกคามใหม่ๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ รวมถึง การถ่ายทอดให้บุคคลรอบข้างได้ตระหนักและป้องกัน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อในยุคสังคมดิจิทัล
  • รู้ถึงสาระสำคัญทั้งข้อกำหนดที่เป็นภาคบังคับและแนวทางจัดการ ด้านเทคนิค สำหรับดำเนินการตาม GDPR และกฎหมายของไทย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act) และ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Act) ทั้งสองฉบับ
  • รู้ถึงกระบวนการจัดการบริหารความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานทางดิจิทัล (Digital Supply Chain Risk)


กลุ่มเป้าหมาย​

  • ผู้บริหารระดับสูง (CEO, COO, CMO, CRO)
  • ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO, CTO, CDO)
  • ผู้บริหารระบบความปลอดภัยข้อมูลระดับสูง (CSO, CISO)
  • ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการในสายงานไอทีและสารสนเทศ (IT Management)
  • ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์คและระบบปฏิบัติการขององค์กร (Network & System Administrator)
  • ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ (IT Auditor)
  • ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer)
  • บุคลากรในสายงานกฎหมาย (Law Enforcement)
  • บุคลากรในสายงานกำกับดูแล (Compliance / IT Compliance)
  • บุคลากรในสายงานบริหารความเสี่ยง (ERM / IT Risk)
  • บุคลากรในสายงานนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Cyber Cop / Digital Forensic Investigator)
  • บุคลากรด้านไอทีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (IT Security Practitioner)
  • ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรของผู้ให้บริการระบบเทคโนโลยี (Specialist, Supplier, IT Outsouring Provider)
  • ประชาชนทั่วไปที่สนใจด้านความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ (IT Smart Users)


กำหนดการ


1e011e03e2b341d01296cb67ebae42e8cbb85700
Organized by
IMC Institute