Education

Innovative STEM Education Camp 2018 (รุ่นที่ 7)

หลักการและเหตุผล

             แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาเริ่มมีความโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้นภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐโดยมีการจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติเป็นกลไกการขับเคลื่อนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคภายใต้ศูนย์สะเต็มศึกษา แนวคิด STEM EDUCATION จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการชั้นเรียนอย่างมีคุณภาพโครงการ INNOVATIVE STEM EDUCATION CAMP 2018 (รุ่นที่ 7) ภายใต้หัวข้อ เด็กไทยยุค 4.0 นักคิด นักประดิษฐ์ ก้าวนำเวทีโลก เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา การประดิษฐ์คิดค้น ควบคู่ไปกับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม การลงมือสร้างแบบจำลองเครื่องกลและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

              สถาบัน Brain Adventure Camp ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนากิจกรรมสำหรับเยาวชน ร่วมกับบริษัทมัลติซายเทค ผู้จัดหาวิทยากร และออกแบบกิจกรรม จึงได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นเพื่อสนองต่อแนวนโยบายปฎิรูปการศึกษา พร้อมทั้งร่วมส่งเสริมและสร้างสรรค์กิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชนได้มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับเสริมสร้างความรู้ เสริมทักษะด้านการบริการจัดการและการทำงานเป็นทีม ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านประสบการณ์ตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคิดค้น พัฒนา การเรียนรู้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน  การนำเสนอ และ การทำงานเป็นทีม เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้และฝึกทักษะดังกล่าวได้

  วัตถุประสงค์

2.1    เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม

2.2    เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะด้านการบริหารจัดการและการทำงานเป็นทีมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ

 STEM EDUCATION

2.3    ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบระเบียบ

2.4    เพื่อให้เด็กและเยาวชนฝึกคิดและการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษที่หลากหลาย

2.5 เพื่อร่วมส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษามุ่งสู่ความเป็นเลิศเฉพาะทางและก้าวสู่เวทีการแข่งขันระดับประเทศ
               และนานาชาติ


 กลุ่มเป้าหมาย

โดยเปิดรับสมัครเยาวชนชาย หญิง ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้น ควบคู่ไปกับพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม


วิธีการรูปแบบกิจกรรม

4.1    เสนอโครงการฯ ต่อผู้ปกครองของนักเรียน

4.2    กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม โดยใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ K’nex Education ในการทำกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนหรือห้องทดลอง

4.3 ดำเนินการอบรมโดยชุดการสอนโครงสร้างทางสิ่งประดิษฐ์พื้นฐาน ดำเนินกิจกรรมภายใต้แนวคิด  
      Innovative Stem Education 

ระยะเวลาดำเนินงาน

·         วันที่ 5-6-7 ตุลาคม 2561 (ศุกร์,เสาร์,อาทิตย์) ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.

·         สถานที่ อาคารเคเอ็กซ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 110/1 ถ.กรุงธนบุรี แขวงบางลำพูล่างเขต คลองสาน กรุงเทพ 10600

หมายเหตุ  เดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงสถานีวงเวียนใหญ่ ออกประตู 4 อาคาร KX อยู่ห่าง 200 เมตร


การประเมินผลโครงการ

8.1 เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม
     มากขึ้นผ่านการทำกิจกรรม

8.2 เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมในการ
      นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

8.3 เด็กและเยาวชนได้ฝึกทักษะด้านการบริหารจัดการ การแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม

 การรับรองผล

            เด็กและเยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับการพิจารณาจากผู้บริหารโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ให้ได้รับประกาศนียบัตรการฝึกอบรม โดยจะต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาทั้งหมดในหลักสูตร รวมทั้งปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างครบถ้วน

  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       10.1 เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและหลักการสะเต็มศึกษาสามารถนำมาปรับใช้ในกิจกรรมการ

              เรียนได้อย่างมีคุณภาพ

       10.2 เกิดการสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนสะเต็มศึกษาตามนโยบายของศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ

       10.3 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิด สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ให้เด็กและเยาวชนสะเต็มศึกษา

 

กำหนดการอบรมหลักสูตร

โครงการ Innovative STEM Education Camp 2018 (รุ่นที่ 7)

ณ อาคาร KX (Knowledge Exchange)

วันที่ 5-7 ตุลาคม 2561

ระดับประถมศึกษา

วันศุกร์ ที่ 5 ตุลาคม 2561

08:30 – 09:00 . ลงทะเบียน / รับเอกสาร

09:00 – 09:15 . พิธีเปิดโครงการโดย ผู้อำนวยการโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสร้างสรรค์

09:15 – 10:30 . เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ของสื่อการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และเรขาคณิตผ่านทางชุดอุปกรณ์
                       ประกอบการเรียนรู้

10:30 –10:40 . รับประทานอาหารว่าง

10.40– 12:00 . เรียนรู้หลักการและโครงสร้างการออกแบบซึ่งเชื่อมโยงกับหลักการทางฟิสิกส์และวิศวกรรม

12:00 –13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 –14:30 . แต่ละทีมออกแบบโครงสร้างตามโจทย์ที่กำหนด

14.30 –14:45 . รับประทานอาหารว่าง

14:45 – 16:00 . กิจกรรมการแข่งขันการออกแบบโครงสร้างและสรุปเนื้อหา

 

วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม 2561

08:30 –09:00 . ลงทะเบียน

09:00 –10:30 . เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกและหลักการต่อประกอบ ได้แก่ เฟือง, รอก, ล้อและเพลา พร้อมทั้ง          
                      โครงสร้างการออกแบบ

10.40 – 11:20 . -เรียนรู้หลักการการทำงานของ microcontroller RCU (Robot control unit)

                  -เรียนรู้หลักการการทำงานของเซนเซอร์ต่างๆ

      10:30 – 10:40 . รับประทานอาหารว่าง

11.20 –12:00 . เขียนโปรแกรมควบคุมโครงสร้างที่ออกแบบ

12:00 –13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 –14:00 . กิจกรรมการแข่งขัน

14.00 –14:10 . รับประทานอาหารว่าง

14:10 – 16:00 . สรุปกิจกรรม, ชี้แจงและกำหนด Final project

 

วันอาทิตย์ ที่ 7 ตุลาคม 2561

08:30 –09:00 . ลงทะเบียน

09:00 –10:30 . ออกแบบ Final project

10.40 – 12:00 . ลงมือสร้าง Final project

12:00 –13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 –14:00 . ลงมือสร้าง Final project

14.00 –14:10 . รับประทานอาหารว่าง

14:10 – 16:00 . พรีเซนต์ Final project

16:00 – 16:30 . มอบรางวัล / พิธีปิด พร้อมมอบวุฒิบัตร

ระดับมัธยมศึกษา

วันศุกร์ ที่ 5 ตุลาคม 2561

08:30 –09:00 . ลงทะเบียน / รับเอกสาร

09:00 – 09:15 . พิธีเปิดโครงการ

09:15 –10:30 . -เรียนรู้หลักการการทำงานของ microcontroller RCU (Robot control unit)

                             -การเขียนโปรแกรมในระดับเบื้องต้นเพื่อควบคุมกลไกต่างๆ

10:30 –10:40 . รับประทานอาหารว่าง

10.40 – 12:00 . ทดลองใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆของ microcontroller ในการควบคุมเซนเซอร์ในเบื้องต้น

12:00 –13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

12:00 –14:00 . เรียนรู้หลักการการทำงานของเซนเซอร์

      -Touch Sensor

-LED Light,

       -Light Sensor

14.00 –14:15 . รับประทานอาหารว่าง

14:15 – 16:00 . เขียนโปรแกรมควบคุมโครงสร้างตามโจทย์ต่างๆที่กำหนดโดยประยุกต์ใช้เซนเซอร์ชนิดต่างๆ

 

วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม 2561

08:30 –09:00 . ลงทะเบียน

       09:00 –10:30 . เรียนรู้การใช้ Sensor แบบต่างๆ ในการควบคุมหุ่นยนต์

10.40 – 11:20 . ออกแบบโครงสร้างแขนกลต่างๆจากเงื่อนไขที่กำหนดโดยใช้ microcontroller RCU

                       ร่วมกับเซนเซอร์ต่างๆ

10:30 – 10:40 . รับประทานอาหารว่าง

11.20 –12:00 . ทดสอบโปรแกรมที่ใช้ควบคุมโครงสร้าง โดยประยุกต์เข้ากับกลไกที่ออกแบบ

12:00 –13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 –14:00 . ชี้แจง Final project รถเดินตามเส้น

14.00 –14:10 . รับประทานอาหารว่าง

14:10 – 16:00 . ออกแบบ Final project

 

วันอาทิตย์ ที่ 7 ตุลาคม 2561

08:30 –09:00 . ลงทะเบียน

09:00 –12:00 . ลงมือสร้าง Final project

12:00 –13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 –14:00 . ลงมือสร้าง Final project (ต่อ)

14.00 –14:10 . รับประทานอาหารว่าง

14:10 – 16:00 . พรีเซนต์ Final project

16:00 – 16:30 . มอบรางวัล / พิธีปิด พร้อมมอบวุฒิบัตร

 

*** กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม***


Ecd6551b8f0339f001f42ffdde032bd80e55145e
Organized by
Multiscitech Co.,ltd