Education

Filigree Jewelry Workshop

งานช่างในปัจจุบันที่เหลือคนทำน้อยและยิ่งงานช่างที่ต้องสืบสานภูมิปัญญาแทบหาไม่ได้ ซึ่งเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีงานพื้นถิ่นสูง ยังมีชุมชนที่ยังคงทำงานหัตถกรรมอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยแต่การเข้าถึงชุมชนและเข้าไปเรียนรู้นั้นยากเนื่องจากองค์ความรู้ที่สืบทอดมานั้นจะถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น เทคนิคเฉพาะบางอย่างจึงเป็นความลับของตระกูล จึงทำให้งานหายไปและยากต่อการเรียนรู้ของคนทั่วไป เรามองเห็นอนาคตของงานหัตถกรรม และการต่อยอดในเชิงความรู้และการดีไซน์ซึ่งเราจะนำความรู้ที่สืบทอดมาได้ให้เป็นที่รู้จักและเปิดกว้างเพื่อโลกในอนาคต

กระบวนการทำเครื่องประดับแบบยัดลายมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนถึง 35 ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้น ซึ่งใช้เวลาสูงในการผลิต เราได้คิดและออกแบบกระบวนการของโครงสร้างหลักขึ้นใหม่โดยลายละเอียดของงานยังคงอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 

เรียนรู้การทำเครื่องประโดยใช้วัสดุจริงคือ เงิน โดยผ่านกระบวนการทำวัตถุดิบแบบพื้นฐานเรียบร้อยแล้วเช่น ลวดเงินเส้นตีเกลียว เม็ดไข่ปลา ผู้เรียนสามารถเลือกและดีไซน์ได้ด้วยตัวเองจากวัสดุรอบตัว เรียนรู้จากกระบวนแรกจนจบ ชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์พร้อมสวมใส่และใช้งานได้จริง สามารถเลือกรูปแบบของดอกไม้ที่เป็น signature ของทางตระกูล ซึ่งมีทั้งหมด 5 ดอกได้แก่ ดอกกาสะลอง ดอกโบตั๋น กลีบลำดวน ดอกพญาเสือโคร่ง และดอกจักรพรรดิ์ 

Ee5144190ab5236beaba6a12245de2ac8ad42452
Organized by
Angsa Jewelry