Education • Art & Design

Online UX Workshop (30-31 May 2020)

30 May 2020 09:00 - 31 May 2020 17:00
Online Event
19 followers

Course Description:

User Experience คือความรู้สึกที่ฝังลงในตัวผู้ใช้เมื่อได้สัมผัสกับเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของบริษัท ในอดีต UX Methodology มักถูกนำไปใช้โดยฝ่ายออกแบบ แต่ปัจจุบันเรา รู้กันดีว่าทุกฝ่ายในบริษัทล้วนมีบทบาทในการกำหนดประสบการณ์ของผู้ใช้ทั้งสิ้น ตัว Workshop จึงออกแบบมาให้เหมาะสำหรับทุกคนในองค์กร ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มาก่อน

ใน Course UX Workshop เราไม่ได้สอนวิธีที่ทำให้ออกแบบได้สวยงาม แต่เราสอนเทคนิค ที่จะทำให้ Marketing คิดถึงลูกค้าก่อนผลกำไร ทำให้ Developer คิดถึงคนที่จะเอางานไปใช้ เราสอนให้นักออกแบบดึงเอาความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ออกมา เพื่อให้ทุกคนในองค์กรช่วยกันค้นหาหนทางแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้ แทนที่จะพยายามสร้างฟีเจอร์ใหม่ๆ

ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้ เทคนิคในการดึงความในใจของผู้ใช้ออกมาเทคนิคในการออกแบบโปรแกรมโดยตั้งต้นที่ประสบการณ์ของผู้ใช้ และกระบวนการทำงานของ UX (UX Process)โดยผู้เรียนจะได้ ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงได้

ทำความเข้าใจ UX เพิ่มเติมผ่าน blog.uxacademy.in.th


Workshop Environment:



Duration:

2 Day (9.00-17.00)


Instructor:


Apirak Panatkool short profile, LinkedIn

Apirak currently works as a UX Coach at ODDS. Previously he was Google Developer Expert, the Evangelist at Omise Payment Gateway and UX Coach at Ascend Group (Truemoney, iTruemart, weloveshopping).

He’s a big believer that great user experience comes from everyone working as part of a team, not only for designers

Apirak is also the co-founder of UX Thailand, one of the biggest UX community on Facebook in Thailand. He is also the co-founder of UX Academy. Apirak loves to see people with different talents working together and he thinks user experience is the key that makes it happen.



Who Should Attend:

  • Product Manager, Project Manager, Product Owner
  • Programmer / Developer / QA
  • System Analyst, Business Analyst
  • Designer
  • ผู้เชียวชาญในสาขาต่างๆ ที่ต้องการเข้าใจงานออกแบบในโลกของ Software

What should be expected:

  • ประยุกต์ ใช้งาน User eXperience ในกระบวนการพัฒนาซอร์ฟแวร์ได้
  • อธิบาย การทำงานโดยมีผู้ใช้เป็นจุดศูนย์กลางให้ทีมงาน หัวหน้า ลูกค้า หรือคู่ค้าฟังได้
  • ตัดสินใจ เลือกเส้นทางที่ถูกต้องให้กับสินค้าของเรา
  • ต่อรอง แนวทางการออกแบบเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้
  • ลด ความเสี่ยงในการพัฒนาซอร์ฟแวร์ที่ผู้ใช้ไม่อยากใช้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ workshop


Schedule:

วันที่ 1: UX Methodology ทำความเข้าใจองค์ประกอบหลักในการออกแบบ UX 

  1. Experience Design:  แต่ละคนจะมีนิยามของ User Experience ที่ไม่เหมือนกัน ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ก็ไม่เหมือนกัน การปรับพื้นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนคาดเดาขอบเขตการใช้งาน ความคาดหวัง และแนวทางในการใช้งานได้ชัดเจนมากขึ้นช่วยให้การนำไปต่อยอดทำได้ง่ายขึ้น

  2. Understand User : การสร้าง Empathy หรือการเข้าใจผู้ใช้ อาจจะดูคล้ายการทำ Target market หรือ Market segment แต่ไม่เหมือนกัน เพราะ Empathy มีเป้าหมายเพื่อการสร้างของซึ่งมีวิธีคิดต่างจากการขายของ ดังนั้นเราจึงต้องการเข้าใจผู้ใช้ให้มากกว่าที่ผู้ใช้เข้าใจตนเอง ในส่วนนี้เราจะมาเรียนว่าจะต้องทำอย่างไร

  3. Understand Stakeholder: การสร้างซอร์ฟแวร์ที่ดีต้องเข้าใจด้วยว่าคนที่ลงเงินทุนต้องการอะไร ผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินเป็นแค่สวนหนึ่งเท่านั้น เราต้องสามารถคุยกับผู้ลงทุนได้ (Stakeholder Interview) เพื่อหาหาเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว และขุดหาวาระซ่อนเร้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ชี้เป็นชี้ตายให้กับโปรเจคเลยทีเดียว

  4. Understand Developer: งานซอร์ฟแวร์เป็นงานที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าผู้ใช้เปลี่ยนเพราะสภาพแวดล้อม ธุรกิจจะเปลี่ยนเพื่อการแข่งขัน เทคโนโลยีเปลี่ยนเพราะมีของที่ดีกว่าออกมา ดังนั้นทีมที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีกระบวนการทำงานเฉพาะ (Agile Software Development) คนที่ทำงานด้าน UX มีบทบาทสำคัญมากที่ทำให้ทีมวิ่งได้เร็ว เราเรียกว่า Continuous Discovery

วันที่ 2: UX Process: เรียนรู้กระบวนต่างๆ ในสายงาน UX จะแบ่งเป็น 4 หัวข้อ

  1. Design process: โปรแกรมที่ออกแบบสวย ๆ ใช้งานได้ง่าย ไม่ได้เกิดมาจากนักออกแบบอัจฉริยะ ที่อยู่ดี ๆ ก็วาดออกมา แต่มันมีกระบวนการในการคิดการทำความเข้าใจ และการสร้าง idea ใหม่ ๆ เช่น Design Thinking, Google Design Sprint, Lean UX และมีอีกหลายตัว เราจะมาเรียนส่วนนี้เพื่อให้เราไม่ยึดติด และสามารถสร้าง Process ที่เหมาะกับบริษัทของเราได้

  2. User Interview: การคุยกับผู้ใช้เป็นทางลัดที่จะเข้าใจผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีหลุมพรางอยู่เยอะ เพราะผู้ใช้ไม่ได้คิดมากเท่าเรา และคนส่วนมากก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ ตัวเองเป็นอย่างไร การคุยกับผู้ใช้เพื่อให้ได้รู้แนวคิดของเค้าจึงต้องใช้เทคนิค และการมองที่ถูกจุด

  3. User Journey : ถ้าเราไม่รู้ว่าผู้ใช้มีวิธีทำงานอย่างไร เราก็คาดการได้ยากว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นจะสามารถช่วยผู้ใช้ได้จริงหรือเปล่า การทำ User Journey จะช่วยให้เราวางแผนในการพัฒนาโปรแกรมได้ง่ายขึ้น รู้ว่าอะไรที่ส่งผลต่อการทำงานมากหรือน้อย รู้ว่าเราควรแก้จุดอ่อนก่อน หรือออกฟังก์ชันใหม่ก่อน

  4. Work thought process: หลังจากทดลองส่วนย่อย ๆ มาแล้ว ผู้เรียนจะได้ทดลองทำ Process ทั้งหมดต่อจากการ Interview โดยจะได้ทำ Empathy Map, User Journey, Wireframe prototype และทำ Usability test อีกหลาย ๆ รอบ (ใช้ Google Design Sprint เป็นตัวหลัก)


Why we dare to open Online Workshop

ผมและทีมงานเราออกแบบระบบการทำ workshop ใหม่หมด เพราะรู้ว่าการสอนแบบเดิมของเราถูกออกแบบมาเพื่อ offline workshop ดังนั้นทีมงานจึงวาง Persona และ Journey ของผู้เรียนใหม่หมด ออกแบบละดับขั้น คำพูดและวิธีการสรุปใหม่ เพื่อให้เหมาะกับการสอน Online แล้วก็ทดลองสอนเป็น 10 รอบ ตั้งแต่กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ ระยะสั้น ระยะยาว เปลี่ยนการจัดไฟ เปลี่ยนตัว workshop เปลี่ยนเครื่องมือเพื่อให้ผู้เรียนตามได้ง่ายจนเราเริ่มได้ แนวทางที่เรียกว่าสำเร็จ 🎉

เราพบสิ่งที่แปลกใจมากๆ "การสอน UX แบบ Online มันให้ผลออกมาดีมาก" เรียกได้ว่าผู้สอนติดใจเลยทีเดียว มันแก้ Painpoint ที่ผมเจอมาตลอดตอนสอน Online ได้เป็นหลายข้อมากๆ

1. Presentation ชัดมาก: ในการสอน UX ผมจะเจอปัญหานี้ตลอด แม้ว่า Projector จะชัดมาก แต่ผู้เรียนที่อยู่ท้ายห้องมักมองเห็นจอภาพได้ไม่ชัดเท่าคนอยู่หน้าห้อง อ่านตัวหนังสือได้ไม่คม แต่การสอน online ทุกคนเห็นภาพชัดสุดๆ การยกตัวอย่างเรื่องสีทำได้ดีมาก แถมตัวไหนอยากเน้นเราก็ zoom เข้าไปได้ด้วย

2. วาดภาพได้ง่าย: ผมพบว่าตัวเองวาดรูปลงไปใน slide เยอะมาก และผู้เรียนก็ชอบ เพราะมันเหมือนผู้สอนและผู้เรียน เราสร้างภาพความเข้าใจของเราขึ้นมาพร้อมๆ กัน ทำให้เราดึงให้ผู้เรียนอยู่กับเราได้ดีกว่าตอนสอนในห้องเสียอีก

3. ดึงตัวอย่างมาพูดได้ง่าย: ใน workshop ผมจะมีปัญหาเวลาจะเอางานที่คนในห้องทำ มาวิเคราะ์ให้ทุกคนดูเป็นตัวอย่าง เพราะงานนั้นมันจะเล็กๆ จะเอาขึ้นจอก็เสียเวลา แต่ในแบบ Online เราดึงมาพูดได้ทันที ถ้าต้องการเปรียบเทียบงานก็ทำได้ง่าย และเมื่อผู้เรียนรู้ว่าผู้สอนสามารถให้คำแนะนำได้ทันที ก็ทำให้ความตั้งใจมากขึ้น สนุกขึ้น บางคนก็ลืมเวลาข้าวเที่ยงไปเลย

4. แยกลุ่ม รวมกลุ่ม ได้เร็วมาก: หลายคนอาจจะไม่รู้ว่านี่เป็น Painpoint ของผู้สอนมากๆ ยิ่งใน UX Workshop ของผมที่เรามี Workshop แทบจะตลอดเวลา ตอนเรียกคนให้กลับมารวมกันเป็นอะไรที่เสียเวลามากๆ แต่พอเป็นแบบ Online เราสามารถกระจายกลุ่มหรือรวมกลุ่มได้ในทันที ทำให้ระบบ Timebox ของเราดีขึ้นมาก มันไปได้เร็วใช้ได้เลย

5. คนเรียนสอบถามได้ง่าย: แน่นอนว่าแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน บางคนที่ต้องการความช่วยเหลือก็จะเกรงใจเพื่อนๆ แต่ในระบบ Online เค้าสามารถเรียกหา TA ได้ตลอด จะถามก็พิมพ์ได้เลยไม่ต้องยกมือให้เกรงใจผู้สอน แบบใน Offline Workshop

ยังมีข้อดีอีกเพียบเลยครับ ที่เราไม่เคยทำได้มาก่อนจนกระทั้งได้มาลองจัด Online Workshop ดูแบบจริงจัง และแน่นอนว่ายังมีสิ่งดีๆ ที่หายไปจากการที่เราต้องอยู่แบบ Online แต่สิ่งนั้นทีมงานก็พยายามปรับแก้อย่างเต็มที่ (แน่นอนว่าเราแก้ไปได้เยอะมาก 😉) อยากให้ทุกคนมาลองดูครับ


อุปกรณ์ในการเรียน

1. Internet ความเร็วสูง

2. Computer (Mac, Windows หรือ Linux)  ที่ลงโปรกรม Zoom ไว้แล้ว

3. Webcam เพื่อให้ผู้สอนเห็นหน้าได้

4. กระดาษ A4 และ ปากกา

ก่อนวันเรียนถ้าใครไม่แน่ใจเราจะมีนัดซ้อมตระเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ด้วยกัน รวมถึงถ้าใครไม่ถัดการใช้ software ที่เราจะใช้ใน Workshop สามารถเข้ามาฝึกในวันนั้นได้


Feedback from Online workshop:



 




Payment:

สามารถชำระเงินได้โดยการโอนเข้าบัญชี


More:

ดูรายการอบรมอื่น ๆ ได้ที่ Organizer official website: uxacademy.in.th 

หรืออ่านบทความของ UX Academy ได้ที่ blog.uxacademy.in.th

Workshop, design, user experience
02ddccaf9ea450608e529770334e4e3590f50be4
Organized by
UXA Co., Ltd